CDMA
GPRS / EDGE / 3G
FIBER ACCESSORIES
FIBER EQUIPMENT
CONVERTER
FIBER TRANCEIVER
XDSL
VOIP
MINI COMPUTER
POWER
CCTV
CONNECTOR
AE WRAP
TRACKING
Network Security
Network Management
LED
0xf0rd
Tracking System
Wire Solution
IPTV Solution
Wireless Solution
SME Branch Solution
 

 
9 ข้อไขปัญหาแอนดรอยด์

Moreover, you have to pick the proper study materials, whether it is pdf, practice Cisco 350-001 exam, brain dumps and textbooks. You also need to attend the recommended training for this magnificent certification. If you own such certification materials, it gives you peace of mind that you can pass the test and eventually hold the certification. You also need to have the perseverance and determination when studying for the IT Certification certification.

?CertifyGuide has the best Preparation Material Ever Prepared by Well Known Vendors Regarding MCTS 070-158 questions Training and 350-001 exam Guides.

หุ่นยนต์แอนดรอยด์
       เพื่อตอบรับกระแสแอนดรอยด์โฟน ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ ผู้เขียนจึงเรียบเรื่องบทความจากเว็บไซต์ยาฮูสรุป 10 ข้อสงสัยเกียวกับระบบปฏิบัติการ มาเขียนให้เข้ากับสถานการณ์ในประเทศไทย โดยตัดในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องออกเพื่อให้ผู้ใช้หน้าใหม่หายสงสัยกับสมาร์ท โฟนสุดแรงในขณะนี้ (คำเตือน : บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยากเข้าสู่โลกของหุ่นเขียว)
       
       1.แอนดรอยด์คืออะไร ?
       
       คำตอบง่ายๆ ก็คือ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทำงานบนสมาร์ทโฟนแบบทัชสกรีน โดยใช้พื้นฐานของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ นำมาพัฒนายูสเซอร์อินเตอร์เฟส (ส่วนติดต่อผู้ใช้) ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ผ่านการแสดงผลในรูปแบบของเมนูหลัก หน้าแรกที่ผู้ใช้สามารถหาวิตเจ็ทมาใส่ และปรับแต่งตามสไตล์ของตนเอง
       
       โดยกูเกิลเป็นผู้พัฒนาขึ้นมา หลังจากซื้อกิจการของบริษัท แอนดรอยด์ อิงค์ และทำการเปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 เริ่มวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในเครื่อง T-Mobile G1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2008
       
       2.มีอะไรพิเศษ?
       
       ความพิเศษของแอนดรอยด์ที่แตกต่างจากอีก 3 ระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟนอย่าง iOS ของแอปเปิล และ Blackberry OS ของ ริม (Research In Motion) และวินโดวส์โฟน ของ ไมโครซอฟท์ คือการที่กูเกิล เปิดตัวระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในรูปแบบเปิด (Open-source OS) ภายใต้ความร่วมมือใน OHA (Open Handset Alliance) หรือพันธมิตรผู้พัฒนาระบบเปิดบนโทรศัพท์มือถือ ที่มีบริษัททั้งผู้ผลิตและพัฒนาเข้าร่วมกว่า 65 ราย ทำให้บริษัทที่เข้าร่วมทั้งหมด สามารถพัฒนาแอนดรอยด์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ทำงานบนรูปแบบของระบบปฏิบัติการเดียวกัน ที่มีกูเกิลเป็นผู้พัฒนาหลัก
       
       นอกจากนี้แอนดรอยด์ยังมีความเป็นมิตรกับผู้ใช้ และนักพัฒนามากกว่า เนื่องจากกูเกิลเปิดให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งหน้าตาอินเตอร์เฟสได้เอง รวมไปถึงมีการพัฒนาออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพ และเร็วขึ้นกว่าเดิมในทุกๆ ครั้งที่ออกเวอร์ชันใหม่
       
       3. แอนดรอยด์โฟนไม่ได้เรียกย่อๆ ว่าดรอยด์?
       
       คำว่า ดรอยด์ ถือเป็นชื่อที่ทาง เวอร์ไรซอน ไวเลส (Verizon Wireless) ตั้งขึ้นมาเพื่อเรียกแอนดรอยด์โฟนที่วางจำหน่ายเช่น Droid X, Droid Eris และ Droid Incredible ซึ่งแต่ละเครื่องก็ทำงานบนแอนดรอยด์ ส่วนที่วางจำหน่ายในไทยจะถูกเปลี่ยนชื่อไป อย่างเช่น โมโตโรลา ไมล์สโตน เอชทีซี ดีไซน์ ซัมซุง กาแล็กซี เอส เป็นต้น
       
       4.ทำไมแอนดรอยด์น่าใช้กว่าไอโฟน
       
       เหตุผลต่างๆ นานา ที่ยกมาอาจจะไม่เข้าหูสาวกของแต่ละระบบ แต่ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ทำให้แอนดรอยด์มีความน่าใช้มากกว่า แต่ถึงกระนั้นถ้ามองกลับไปในฝั่งไอโฟนเอง ก็จะมีเหตุผลของตนเองที่ดีกว่าเช่นเดียวกัน
       
       ข้อแรกคือ แอนดรอยด์โฟน สามารถทำงานร่วมกับบริการต่างๆ ของกูเกิลได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็น Gmail กูเกิลแม๊ป ปฏิทินออนไลน์ รายชื่อผู้ติดต่อบนกูเกิล บริการกูเกิลวอยซ์ ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งเมล ดูตารางนัดหมาย และเข้าถึงรายชื่อผู้ติดต่อได้ทันที
       
       นอกจากนี้ในการเข้าใช้งานแอนดรอยด์ครั้งแรก เพียงแค่ผู้ใช้กรอกอีเมลและรหัสผ่านในมือถือ ตัวเครื่องจะทำการซิงค์ข้อมูลอย่างข้อความ รายชื่อผู้ติดต่อเข้ามาในเครื่องแบบอัตโนมัติ ทำให้ไม่จำเป็นต้องคอยสำรองข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์เหมือนเมื่อก่อน เพราะรายชื่อผู้ติดต่อจะถูกอัปเดตอัตโนมัติเมื่อมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
       
       ถัดมาคือ เรื่องของแอปพลิเคชัน กล่าวคือผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอปฯ ได้ทั้งจากในแอนดรอยด์มาเก็ต รวมไปถึงหาไฟล์นามสกุล apk จากเว็บไซต์ต่างๆ มาลงในเครื่อง เพื่อลงโปรแกรม โดยไม่ต้องทำการ Jailbreak หรือทำการปลดล็อกการลงโปรแกรม (แต่ผู้ใช้ต้องมั่นใจถึงแหล่งที่มาของไฟล์ ไม่งั้นอาจกลายเป็นไวรัส หรือโทรจันได้)
       
       สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดคือ แอนดรอยด์ถือเป็นระบบปฏิบัติการที่มีหลายๆแบรนด์เข้ามาร่วมผลิตมากที่สุดใน ขณะนี้ ทำให้เครื่องมีความหลากหลายให้ผู้ใช้เลือกตามความต้องการของตน ไม่ว่าจะเป็นขนาด ทัชสกรีนพร้อม QWERTY คีย์บอร์ดแบบสไลด์ข้าง ไม่เหมือนกับไอโฟนที่ออกแต่ปีละรุ่น

หน้าตาอินเตอร์เฟส Sense ซึ่งอยู่ใน HTC Desire
       5.แล้วข้อเสียของแอนดรอยด์คืออะไร?
       
       จุดสำคัญที่ยังทำให้ผู้ใช้แอนดรอยด์มีความยุ่งยากมากกว่าไอโฟนคือ เรื่องของการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อซิงค์ข้อมูล รายชื่อผู้ติดต่อ ปฏิทิน หรือ แม้แต่เพลงแบบถูกลิขสิทธิ์ เนื่องจากในไอโฟนผู้ใช้สามารถเสียบเพื่อเชื่อมต่อกับ iTunes ในการควบคุมและจัดการไอโฟนได้ทันที ถึงเป็นระบบที่ง่ายสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานและไม่ค่อยมีความรู้เรื่อง เทคโนโลยี
       
       ในขณะที่แอนดรอยด์ ถ้าต้องการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมเฉพาะจากผู้ผลิตแต่ละ รายเช่น HTC sync หรือ Samsung KIES เป็นต้น แต่ในอนาคตเมื่อทุกค่ายเริ่มหันมาใช้งานแอนดรอยด์เวอร์ชัน 2.2 ก็สามารถนำโปรแกรมเพลงอย่าง iTunes มาใช้ซิงค์เพลงได้เช่นเดียวกัน
       
       ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแค่ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้แอนดรอยด์มีทางเลือกในการทำสิ่งเหล่านี้ค่อนข้างหลาก หลาย ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีความรู้ทางด้านนี้ แต่ถ้าไม่มีประสบการณ์ดังกล่าวอาจจะกลายเป็นเรื่องยากไปเลยก็ได้
       
       อีกจุดหนึ่งคืออินเตอร์เฟสการใช้งานของแอนดรอดย์เอง เหมาะกับผู้ที่ชอบการปรับแต่งตามความต้องการของตนเอง ซึ่งถ้าเป็นคนที่ไม่ชื่นชอบการปรับแต่งแบบนี้ จะชอบไอโฟนมากกว่า เนื่องจากแอปเปิลค่อนข้างควบคุมรูปแบบการแสดงผลให้ใช้งานได้ง่ายมากกว่า แต่ถึงกระนั้นในปัจจุบันผู้ผลิตหลายๆ รายก็เริ่มนำอินเตอร์เฟสของตนเองมาพัฒนาเพื่อให้แอนดรอยด์ใช้งานได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น Sense ในเอชทีซี TouchWiz ในซัมซุง เป็นต้น
       
       6. ความแตกต่างของแอนดรอยด์แต่ละเวอร์ชัน "โดนัท" "คัพเค้ก" และ "โฟรโย่"
       
       ในช่วงแรกการพัฒนาของแอนดรอยด์จากเวอร์ชัน 1.5 มาเป็น 1.6 และ 2.1 จนมาถึง 2.2 ในปัจจุบันนั้น เกิดขึ้นจากการพัฒนาในช่วงแรกจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาออกมา ให้ดีที่สุด ความถี่จึงยังมีมากอยู่ แต่ต่อไปตั้งแต่เวอร์ชัน 3.0 หรือในชื่อ Ginger Bread ถูกกำหนดให้มีการอัปเดตทุกๆ 6 เดือน
       
       โดยจุดเด่นสำคัญของ 2.2 ที่มีเพิ่มขึ้นมาอย่างไวไฟฮอตสปอต เพื่อแชร์การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้กับอุปกรณ์ไอทีชิ้นอื่น รวมไปถึงเบราว์เซอร์รองรับอะโดบีแฟลช 10.1 ซึ่งไม่สามารถใช้งานบนไอโฟนได้เป็นต้น ขณะที่ก่อนหน้าโฟรโย่ ในเวอร์ชัน 2.1 ได้มีการใส่ live wallpaper หน้าโฮมสกรีนแบบใหม่ รองรับมัลติทัช สามารถใช้งานอัลบั้มรูปออนไลน์อย่าง Picasa
       
       ส่วนใน 1.6 หรือ โดนัท ได้มีการพัฒนาให้แอนดรอยด์รองรับความละเอียดหน้าจอที่เพิ่มขึ้น เพิ่มความเร็วในการตอบสนอง ฟีเจอร์กล้องถ่ายภาพนิ่งและบันทึกวิดีโอ ส่วนการอัปเดตครั้งใหญ่ในเวอร์ชัน 1.5 คือการเพิ่มความสามารถเล็กๆน้อยๆอย่างการเพิ่มการอัดวิดีโอ
       
       7.ในขณะที่ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 2.2 แต่ทำไมเครื่องที่วางจำหน่ายยังเป็น 2.1 หรือ 1.6 เท่านั้น?
       
       การที่ผู้ผลิตจะนำแอนดรอยด์เวอร์ชันใหม่เข้าไปเพื่อติดตั้งให้กับ อุปกรณ์ที่ตนเองผลิตนั้น จำเป็นต้องมีการทดสอบ ปรับแต่งให้เหมาะกับฮาร์ดแวร์ของแต่ละแบรนด์ ดังนั้นเมื่อมองย้อนไปถึงช่วงเวลาที่ทำการค้นคว้าสำหรับเครื่องที่วาง จำหน่ายในปัจจุบัน ก็คือช่วงที่มีการอัปเดตเวอร์ชันแอนดรอยด์เป็น 1.6 หรือ 2.1 ดังนั้นหลายๆเครื่องที่วางจำหน่ายในปัจจุบันจึงยังเป็นเวอร์ชันเก่าอยู่
       
       ดังนั้นการที่ทางกูเกิลออกเวอร์ชันใหม่มาจึงจำเป็นที่ผู้ผลิต ต้องนำไปพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ของตนเอง ความล่าช้าจึงอยู่ในจุดนี้ ซึ่งในต่างประเทศสำหรับรุ่นที่ได้รับความนิยม จะสามารถอัปเดตเป็นรุ่นใหม่ได้ภายใน 1-2 เดือน แต่ในไทยเนื่องจากต้องมีการพัฒนาในส่วนของภาษาเพิ่มเติม ทำให้เกิดความล่าช้ามากขึ้นอีก
       
       ยกตัวอย่างเช่นแบรนด์หลักอย่างเอชทีซีเอง กว่าจะมีการเปิดให้เอชทีซี ฮีโร่ อัปเดตเป็น 2.1 ก็กินเวลามาถึงช่วงเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ขณะที่เฮาส์แบรนด์อย่าง Wellcom และ i-Mobile เองก็เตรียมที่จะเปิดอัปเดตเป็น 2.1 ในเร็วๆนี้ ส่วนความคืบหน้าจาก 2.1 ไปยัง 2.2 ก็คงต้องรอเวลาอีกสักพักหนึ่ง
       
       8.แล้วจะเลือกซื้อมือถือแอนดรอยด์อย่างไร
       
       เนื่องจากในตลาดมีแอนดรอยด์ให้เลือกใช้งานค่อนข้างหลากหลาย ดังนั้นปัจจัยแรกที่ควรคำนึงถึงคือรูปแบบของตัวเครื่อง เช่นอยากได้เครื่องที่มีคีย์บอร์ด QWERTY หรือไม่ หรืออยากได้แค่หน้าจอทัชสกรีน ขนาดของหน้าจอใหญ่แค่ไหน หรือต้องการเครื่องที่พกพาสะดวก
       
       ต้องการนำเครื่องไปใช้ในการรับส่งอีเมล (เครื่องที่มีคีย์บอร์ดพร้อมกับตัวเครื่องขนาดเล็ก) หรือต้องการดูภาพยนต์ หรือคลิปผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟน (หน้าจอเครื่องมีขนาดใหญ่ เหมาะกับการรับชม) หลักจากนั้นค่อยมาศึกษาถึงการอัปเดตเวอร์ชันของเครื่องที่สนใจ ว่าจะมีการอัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดเมื่อใด ถ้าช้าก็มองไปว่ามีตัวเลือกใดบ้างให้เลือกซื้อในขณะนี้เป็นต้น
       
       9. แอนดรอยด์ที่ร้อนแรงที่สุดในขณะนี้
       
       ถ้ามองไปในตลาดระดับโลก อาจจะมีเครื่องรุ่นใหม่ให้สนใจอย่าง HTC Evo 4G Motorola Droid X ที่มีขนาดหน้าจอใหญ่ถึง 4.3 นิ้ว Samsung Galaxy S ที่มาพร้อมจอ Super AMOLED ที่เพิ่งวางจำหน่ายในสหรัฐฯ Motorola Droid 2 และ Samsung Epic 4G สำหรับผู้ที่ชื่นชอบคีย์บอร์ด QWERTY
       
       แต่ในตลาดประเทศไทยขณะนี้สามารถแบ่งตลาดหลักๆ ออกมาเป็น 2-3 ช่วงราคา เช่นในระดับบน ก็จะมี HTC Desire และ Samsung Galaxy S ทำตลาดอยู่ที่ราคา 2 หมื่นต้นๆ ถัดลงมาเป็นเครื่องในระดับกลางๆ อย่างเช่น i-Mobile i858, SonyEricsson X10 mini, HTC Legend, LG GW620 และ Motolora Milestone หรือที่กำลังจะเปิดตัวใหม่อย่าง HTC Wildfire และ HTC Aria
       
       ส่วนในตลาดเครื่องราคาต่ำกว่าหมื่น ก็มีตัวยืนพื้นอย่าง Wellcom A88, i-Mobile 8500, Samsung Spica และ HTC Tattoo มาให้ผู้ใช้ได้เลือกกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่า ต้องการเครื่องรุ่นไหนมาตอบสนองไลฟ์สไตล์ความเป็นคุณให้มากที่สุด
ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์

 
 
 
Z DNA Corporation Co., Ltd. 2549/43 Paholyotin Park Place Building Tower E, 1st Floor, Phaholyothin Rd., Lardyao, Chatuchak, Bangkok 10900
Tel. (662) 942-7093-4   Fax. (662) 942-7096   E-mail support@zdna.co.th
  © Copyright 2008  Z DNA Corporation Co., Ltd.  All Rights Reserved.